วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การนำไม้ไผ่มาทำพัด
ความรู้จากหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ - 209 แปรรูปสินค้าเกษตร
คุณป้าลมเพย อาบัว เป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทำจักรสาน เมื่อว่างจากการทำนาก็รวมกลุ่มกันสานพัดเพื่อส่งขายตามท้องตลาดและมีคนมา สั่งให้ทำแล้วส่งไปต่างจังหวัด พัดที่กลุ่มป้าลมเพยทำจะมีลักษณะสีสันสดสวด และมีฝีมือประณีต สำหรับเรื่องราคา ถ้าราคาส่งจะอยู่ที่อันละ 8 บาท (พัดเล็ก) 10 บาท ขายปลีกอันละ 15 บาท อันใหญ่ กุ้งตัวละ 10 บาท ทำวันหนึ่ง ได้ 15 ด้ามต่อคน หนึ่งเดือนทางกลุ่มจะทำ 4 ครั้ง  


การนำไม้ไผ่มาทำพัด  

วิธีการทำพัดจะมีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้
1. ไม้ไผ่สีสุก
2. มีดจักตอก
3. สีย้อมผ้า
4. กระทะ
5. เตาถ่าน
6. แบบพิมพ์รูปพัด
7. ดินสอ
8. กรรไกร
9. กิ๊บติดผมสีดำ
10. เป็กตอกเย็บพัด
11. ฆ้อน
12. เลื่อย
13. สว่านเจาะด้ามพัด
14. จักรเย็บพัด
15. ด้าย
16. น้ำมันสน
17. เกลือ
18. สารส้ม
19. ฟืน
20. ไม้ขีดไฟ
21. กะละมัง
22. แปรงทาสี
23. ถ้วย
24. ผ้าตาดทอง
25. ผ้าลูกไม้
26. ผ้าดิบ


วิธีการทำพัดสาน
1. ขั้นตอนแรกคือการเลือกไม้ไผ่ที่จะนำมาสานพัด ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาจักตอกสานพัดคือไผ่สีสุก การคัดเลือกไม้จะต้องเป็นไม้ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป เรียกว่า “ไม้มันปลากด” เนื้อไม้จะขาวเป็นมัน เมื่อนำไปย้อมสี สีจะเป็นเงาสดใส ไม้ที่ไม่นิยมนำมาสานพัดคือ ไม้อ่อน เพราะไม้อ่อนมอดจะกิน เมื่อแห้งเส้นตอกจะแตกเพราะเนื้อไม้หดตัว สำหรับไม้แก่สีของเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาล เมื่อย้อมสีสีจะไม่สดใส และเนื้อไม้ที่แก่จะกรอบแตกหักง่าย ไม้ที่เป็นตามดเนื้อไม้จะดำ ผู้สานจะคัดเลือกไม้ที่มีลำสมบูรณ์ปล้องยาว ปลายลำหรือยอดไม่ด้วนเพราะ ไม้ที่ยอดหรือปลายลำด้วนเนื้อไม้จะหยาบไม่สมบูรณ์
2. การจักตอก นำไม้ที่คัดเลือกได้มาตัดเป็นท่อนด้วยเลื่อยคมละเอียด ถ้าเป็นพัดเล็กใช้ปล้องยาวประมาณ ๒๐–๓๐ เซนติเมตร และพัดใหญ่ใช้ปล้องยาวประมาณ ๓๐–๕๐ เซนติเมตร นำมาจักตอกเอาข้อไม้ออกให้หมด การจักตอกทำพัดละเอียด เส้นตอกจะต้องมีขนาดเล็ก เป็นพิเศษ มีความกว้างประมาณ ๓-๔ มิลลิเมตร ถ้าเป็นพัดธรรมดาหรือพัดหยาบขนาดเส้นตอก
จะใหญ่ การจัดตอกจะต้องนำผิวและขี้ไม้ออกให้หมด ลอกตอกด้วยมีดตอก ลักษณะพิเศษของ มีดตอกเป็นมีดที่มีส่วนปลายแหลมคมด้ามยาว เวลาจักตอก ผู้จัดจะให้ด้ามมีดแนบลำตัว เพื่อบังคับให้เส้นตอกมีความบางเสมอกันตลอดทั้งเส้น การจักตอกนิยมจักครั้งละมาก ๆ นำตอกที่จักไปผึ่งลมหรือแดดให้แห้งก่อนนำไปย้อมสี
3. การย้อมสีต้องย้อมลงในภาชนะที่เตรียมไว้ และย้อมครั้งละมาก ๆ เป็นการประหยัดสี สลับสีตามต้องการ วิธีการย้อมต้องย้อมลงในน้ำเดือด จุ่มเส้นตอกให้ทั่วตลอดทั้งเส้น เมื่อย้อมแล้วนำเส้นตอกที่ย้อมไปล้างลงในน้ำเย็น เป็นการล้างสีที่ไม่ติดเนื้อไม้ออกก่อน จะเหลือเฉพาะสีที่ติดเนื้อไม้เท่านั้น นำไปผึ่งลมหรือแดดให้แห้งก่อนนำไปสานพัด

กระปุกออมสิน จากไม้ไผ่

กระปุกออมสิน จากไม้ไผ่

ในส่วนของการทำ กระปุกออมสินจากไม่ไผ่ นั้น จริงๆ แล้วเป็นผลพลอยได้จากการตัด ไม้ไผ่ ซึ่งเกิดจากการตัด ไม้ไผ่ นำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ

ไม้ไผ่ เป็นพืชที่พบได้ในพื้นที่ทั่วๆ ไป และนับว่าเป็นพืชที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องประดับ เครื่องใช้ต่างๆ โดยในจังหวัดแม่ฮ่องสอนนี้ เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีต้นไผ่ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป และมีเป็นจำนวนมาก ประชาชนในพื้นที่จึงนำ ไม้ไผ่ มาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ รวมถึงทำเป็นของฝากและ ของที่ระลึก ต่างๆ มากมาย
smile-handmade
เมื่อเทียบกับสังคมเมืองที่มีแต่การใช้โลหะ พลาสติก และวัสดุต่างๆ ที่มีการคิดค้นขึ้นมาแล้ว ในกลุ่มประชาชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนกลับตรงกันข้าม นั่นคือพยายามนำสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ ในส่วนของ กระปุกออมสิน นั้นในเมืองก็นิยมทำมาจากโลหะ หรือปูนปาสเตอร์ แต่ในสังคมที่อยู่กับธรรมชาติแล้ว สามารถที่จะประยุกต์หรือสรรหามาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะทำมาจากดิน กะลามะพร้าว หรือ กระบอกไม้ไผ่

ในส่วนของการทำ กระปุกออมสินจากไม่ไผ่ นั้น จริงๆ แล้วเป็นผลพลอยได้จากการตัด ไม้ไผ่ ซึ่งเกิดจากการตัด ไม้ไผ่ นำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ตัดมาทำบ้านเรือน เครื่องจักสาน หรือ เครื่องประดับ ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะมีไม้ไผ่บางส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เหลืออยู่บ้าง ซึ่งก็เพียงแค่การหาไม้ไผ่ที่มีขนาดพอเหมาะ ตามความต้องการของแต่ละคน อาจจะขนาดเล็กบ้าง ขนาดใหญ่บ้างตามชอบ เมื่อได้มาก็ตัดหัวตัดท้ายให้เหลือเพียงแค่ปล้องเดียว แล้วก็เจาะรูที่ด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้สามารถใส่เหรียญหรือใส่แบงค์ลงไปได้
ปัจจุบันนี้เมื่อเดินทางไปในส่วนต่างๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนอาจจะได้พบกับ ภูมิปัญญา ท้องถิ่นนี้ขายโดยทั่วไป อาจจะมีการตกแต่งบ้าง หรืออาจจะคงสภาพแบบเดิมๆ ที่ไม่ได้ตกแต่งเลย ราคาก็ 10 - 30 บาท ตามแต่ละขนาด จากสิ่งที่หลายๆ คนมองว่าไม่มีค่าก็อาจจะมีค่าขึ้นมาได้
สิ่งของที่อยู่รอบตัวเรา หากเรามองว่าไม่มีค่า สิ่งนั้นก็จะไม่มีค่าอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่หากเรามองให้มีค่า สิ่งนั้นก็จะมีค่าขึ้นมาทันที แม้ขยะยังมีค่าสำหรับคนหลายๆ คน แม้มูลหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ ก็ยังมีค่า เพราะฉะนั้นลองมองรอบๆ ตัวดู ว่าอะไรบ้างที่เรามองว่าไม่มีค่าแล้วอยู่กับเรา สิ่งนั้นอาจจะมีค่าสำหรับผู้อื่นก็ได้ จงใช้ หรือจงให้ เพื่อสิ่งเหล่านั้นจะได้ไม่ไร้ค่าอีกต่อไป
นอกจากนี้ทุกสิ่งล้วนมีคุณค่า แล้วคุณล่ะ มีคุณค่าหรือไ

ไผ่กระถางแก้ว ทำเงินยุคใหม่

"
ทำง่าย-ขายได้ตลอดปี!

ความคิดสร้างสรรค์-การต่อยอด ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทุก ๆ อาชีพ เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีกับการเพิ่มจุดขายให้กับสินค้า จากสินค้าธรรมดาเมื่อนำมาประยุกต์ดัดแปลงก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างน่าสนใจ อย่างเช่นงาน ’ไผ่ในกระถางแก้ว“ ที่ทีม ’ช่องทางทำกิน“ มีข้อมูลมานำเสนอให้พิจารณากันในวันนี้...

“จักรพันธ์ วรรณพุฒ” เจ้าของไอเดีย เล่าว่า มีอาชีพขายต้นไม้จำพวกไม้ประดับอยู่ที่สวนจตุจักร โดยตอนแรกเน้นจำหน่ายต้นอโกลนีมา ต่อมากระแสความนิยมลดลง อีกทั้งตลาดต่างประเทศซึ่งเคยเป็นตลาดใหญ่ซบเซาลง จึงหันมาสนใจไม้ประดับอย่าง ’ไผ่กวนอิม“ ไม้ชื่อมงคลที่สวยงาม และสามารถดัดตกแต่งรูปทรงได้มากมายหลายแบบ โดยแรก ๆ
ก็จำหน่ายต้นไผ่ให้กับลูกค้าเฉย ๆ ต่อมามองว่าสามารถนำมาต่อยอดโดยเพิ่มลูกเล่นและการประดับตกแต่งเข้าไป น่าจะทำให้สินค้าขายได้ราคาสูงขึ้น จึงมองไปที่การจัดวางไผ่กวนอิม ลงภาชนะเครื่องแก้ว เพราะรูปทรงสวยงาม แปลกตา มีหลากหลายแบบ จึงทดลองจำหน่ายที่หน้าร้าน ปรากฏว่าลูกค้าให้การตอบรับ จึงต่อยอดโดยใช้หินสีมาเพิ่มสีสันเข้าไปอีก

“ที่เลือกทำต้นไม้ในกระถางแก้ว เพราะอยากทำอะไรที่แปลกใหม่ออกไปจากตลาดที่มีอยู่ โดยต้นไผ่กวนอิมแต่ละต้นจะดีไซน์และตกแต่งไม่เหมือนกัน แต่หลัก ๆ จะเน้นความน่ารักสวยงาม เช่นปลูกต้นไผ่ให้เป็นแนวกำแพง ส่วนที่เลือกใช้หินและกรวดสีนั้น ตอนแรกคิดจะใช้ดินวิทยาศาสตร์เหมือนกัน แต่ปรากฏว่าต้นไผ่มีอายุสั้น เพราะรากไม่มีที่ยึดเกาะ จึงเปลี่ยนมาใช้หินและกรวดสีแทน เพื่อให้รากไผ่มีที่ยึดเกาะ ทำให้ลำต้นแข็งแรง และมีอายุยาวนานขึ้น” เจ้าของงานกล่าว

สำหรับเหตุที่เลือกไผ่กวนอิมมาใช้เป็นพืชหลักในการผลิตชิ้นงาน จักรพันธ์บอกว่าไผ่กวนอิมอยู่ได้นานกว่าไม้ชนิดอื่น ถ้าหมั่นบำรุงรักษา รดน้ำไปเรื่อย ๆ ก็จะอยู่ได้ยาวนาน ลำต้นก็จะสูงใหญ่ และแตกยอดออกมาเรื่อย ๆ อีกทั้งยังสามารถนำมาดัดหรือเปลี่ยนรูปทรงได้หลากหลาย จึงไม่ค่อยมีปัญหากับการจัดวางลงในภาชนะแก้วหลากหลายรูปทรง

แต่ที่สำคัญ และถือว่าเป็นจุดเด่นก็คือ เรื่อง ’ชื่อเป็นมงคล“ ซึ่งเหมาะกับการให้เป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเปิดร้านค้า ขึ้นบ้านใหม่ วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน รวมถึงมอบเป็นของที่ระลึกในโอกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ จึงสามารถทำขายได้ตลอดทั้งปี โดยไผ่นั้นราคาในตลาดจะขายส่งอยู่ที่ประมาณ 12-18 บาท ต่อหนึ่งกอ แต่ถ้าซื้อปลีกราคาจะสูงขึ้น อยู่ที่ประมาณต้นละ 25-30 บาท สำหรับภาชนะกระถางและขวดแก้วที่นำมาใช้นั้น ราคาอยู่ที่ประมาณ 15 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปทรง ส่วนหินและกรวดสีราคาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 20 บาทขึ้นไป
“ไผ่ที่เหมาะจะนำมาปลูก สามารถใช้ได้ทั้งขนาดลำต้นอ้วนและลำต้นผอม ตามแต่ชอบ ซึ่งชนิดของไผ่กวนอิมที่ตลาดนิยมจะประกอบไปด้วย ไผ่เงิน ซึ่งจะมีสีเขียวอ่อนมากถึงขาว ลำต้นจะเล็ก ไผ่หยก ลำต้นจะมีสีเขียวเข้ม และ ไผ่ทอง ลำต้นจะมีสีเหลืองนวล ๆ หรือออกเขียวอ่อน ๆ”

นอกจากไผ่กวนอิมแล้ว การเลือกภาชนะจัดวางก็ถือว่าสำคัญ ต้องเน้นรูปแบบสวยงาม สามารถเลือกใช้ได้ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ในส่วนของหินและกรวดสี ก็ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับภาชนะและการจัดวาง โดยในส่วนหินและกรวดสีนี้ จะมีหลากหลายสีสันเพื่อให้ลูกค้าเลือก เพราะบางคนอาจต้องการสีที่ถูกต้องหรือเหมาะกับโฉลกตนเอง

ทุนเบื้องต้น ใช้ประมาณ 5,000 บาทในการลงทุนครั้งแรก ส่วนทุนวัตถุดิบ อยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย ซึ่งเมื่อจัดเป็นชุดแล้ว ราคาขายเริ่มต้นที่ 69 บาท จนถึง 500 บาท ขึ้นกับขนาดของต้นไผ่และภาชนะแก้วที่ใช้
วัสดุอุปกรณ์การทำหลัก ๆ ประกอบด้วย ไผ่กวนอิม, กระถางและขวดแก้ว, หินและกรวดสี อุปกรณ์ทั้งหมดหาซื้อได้ไม่ยาก มีจำหน่ายตามร้านขายของตกแต่งสวนทั่วไป

ขั้นตอนการทำ เริ่มจากนำไผ่กวนอิมที่จะนำมาจัด มาแช่น้ำจนกว่าต้นไผ่จะแทงรากออกมา เหตุที่ต้องนำไปแช่น้ำเพื่อให้ต้นไผ่แทงรากเพิ่ม เพราะจะทำให้ได้ต้นไผ่ที่แข็งแรง และมีรูปทรงที่คงทนและตั้งต้นได้ดี เมื่อได้ต้นไผ่มาแล้วก็นำมาจัดวางลงในภาชนะแก้ว จากนั้นนำหินหรือกรวดสีที่เตรียมไว้ค่อย ๆ เทใส่ลงไป ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างยาก ใช้เวลา และต้องพิถี พิถันเป็นพิเศษ เพราะต้องจัดเรียงให้หินหรือกรวดสีอยู่ในแนวเดียวกัน โดยขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับจินตนาการ

“จากราคาขายที่ไม่แพงมาก ประกอบกับรูปแบบที่ดูสวยงาม ทำให้มีลูกค้าหลายกลุ่ม เหมาะสำหรับเป็นของฝาก ของขวัญในเทศกาลต่าง ๆ หรือจะนำไปตั้งโชว์ประดับในที่ทำงานหรือที่บ้านก็ได้ ต้นไม้ในกระถางแก้วทำได้ไม่ยาก หลาย ๆ คนสามารถทำเป็นงานอดิเรกได้ในยามว่าง” จักรพันธ์ เจ้าของผลงาน กล่าว

สนใจชิ้นงานของจักรพันธ์ ไปดูได้ที่ ร้านอุษาไม้ประดับ โครงการ 15 ตลาดนัดสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี โทร.08-1900-2706 หรืออีเมล jackyja71@gmail.com ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่ง “ช่องทางทำกิน” ที่ทำไม่ยาก.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์/จิตสุภา เรืองประเสริฐ : เรื่อง-ภาพ
ข้อมูลความเป็นมาของ "หนังสือพิมพ์เดลินิวส์"

การปลูกไผ่เลี้ยง

การปลูกไผ่เลี้ยง


พันธุ์ไผ่เลี้ยง

1.พันธ์หนัก เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ปกติในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – สิงหาคม) แต่ถ้าจะผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มกับทุน 2.พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่สามารถให้หน่อไผ่ ตกในช่วงฤดูฝน และสามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ยแล้วจะให้หน่อทันที ถ้าเกษตรกรปลูกมีการบำรุงรักษาดี ผลผลิตก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ที่จะปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อ ควรปลูกพันธุ์เบา



การคัดเลือกพื้นที่ปลูกสวนไผ่
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกไผ่เลี้ยง ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว ดินโคกลูกรัง การเจริญเติบโต และการให้หน่อจะไม่ดี


การเตรียมดินปลูก
-ไถครั้งแตกด้วยรถไถผาน 3 ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืช
-ไถครั้งที่ 2 ด้วยรถไถผาน 7 เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย เหมาะแก่การปลูกพืช



ระยะปลูก
สามารถปลูกได้หลายขนาด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้เครื่องมือในการจัดการแปลงหลังปลูก
1.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 2 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น
2.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น
3.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 6 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 66 ต้น
ที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรทั่วไป ควรปลูกระยะ 4 x 4 ม.

การปลูก
1.ปลูกด้วยตอชำถุง (มีค. – กค.) ขุดหลุ่มขนาด 50 50 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณ 1 ปุ้งกี๋ คลุกเคล้าเข้ากับดินลงในหลุมปลูก ฉีกถุงดำออกอย่าให้ดินแตก นำลงหลุมกลบดินให้แน่น แล้วรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (ถ้าฝนไม่ตก)
2.ปลูกด้วยเหง้า หรือตอไผ่ที่ไม่ได้ชำถุง โดยขุดเหง้าหรือตอไผ่ แล้วนำไปปลูกทันทีด้วยการขุดหลุมเฉพาะ ไม่ต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปลูกแล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกโดยวิธีนี้ คือ เดือน มค. – เมย. เหมาะสำหรับผู้ที่มีแหล่งน้ำและสะดวกในการให้น้ำ


การดูแลรักษา
-ถ้าไม่มีฝนตกควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
-กำจัดวัชพืชทำความสะอาดแปลงอย่าปล่อยให้หญ้าคลุม
-เมื่อไผ่ปลูกได้ 7 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กออกให้เหลือไว้แต่ต้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 ซม. แล้วพรวนดินรอบกอ ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 5 – 10 กก. คลุมโคนด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง หรือฟางข้าว เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดิน ถ้ามีน้ำในไร่นาควรให้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
-เมื่อไผ่มีอายุได้ 8 เดือน ขึ้นไป ก็จะสามารถให้หน่อและเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอ เพื่อจะได้ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในฤดูต่อไป


เทคนิคการตัดแต่งกอและกิ่งไผ่
-หลักสำคัญในการตัดแต่งกิ่งไผ่ อยู่ที่ปีที่ 2 ซึ่งจะต้องตัดต้นที่แก่และยู่ชิดกันออก โดยใช้เลื่อยตัดแต่งกิ่งเฉพาะ จะสะดวกให้เหลือจำนวนต้นไว้ในแต่ละกอ ไม่เกิน 12 ตัน ต่อไป (การตัดแต่งควรตัดทุกปีอย่างต่อเนื่อง ปีละ 1 ครั้ง)
-ฤดูกาลที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง คือเดือน ธค. – มค.
-หลังตัดแต่งเสร็จให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 15 – 20 กก. แล้วให้น้ำทันที เพื่อเร่งให้ได้ผลผลิตหน่อไผ่ช่วงต้นฤดู ซึ่งขายได้ราคาสูง
-ถ้าจะเร่งการออกหน่อ และเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น ให้เสริมด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 กอละประมาณ 2 กำมือ โดยใส่รอบๆ กอ แล้วจึงกลบด้วยปุ๋ยคอกแล้วให้น้ำทันที ถ้าไม่มีน้ำให้ก็ต้องรอเก็บผลผลิตในฤดูฝนตามปกติ แต่ผลผลิตก็จะได้มากกว่า สวนที่ไม่มีการตัดแต่งใส่ปุ๋ยอย่างแน่นอน



การเก็บผลผลิตหน่อไผ่
-ขนาดความยาวของหน่อไผ่ที่เหมาะสม 40 – 50 ซม. หรือ ถ้าเห็นหน่อไผ่พ้นดินขึ้นมาให้รออีก 4-6 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้
-ช่วงเดือนสิงหาคม ควรคัดเลือกหน่อที่มีลักษณะสมบูรณ์และแตกหน่อออกอยู่ห้างกอไว้เป็นลำต้นต่อไป
-ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,700 กก.
-รายได้เฉลี่ย 17,000 บาท/ไร่


การขยายพันธุ์ไผ่
การขยายพันธุ์ไผ่เลี้ยง ทำได้ 2 ลักษณะ

1.ขยายพันธุ์โดยการขุดเอาเหง้าของลำต้นไผ่ที่มีอายุ 1 ปี แต่ไม่ควรเกิน 1 ปีครึ่ง เมื่อขุดออกมาแล้วควรตัดให้เหลือตอไว้ประมาณ 40 ซม. และตัดแต่งรากออกพอประมาณ เพื่อสะดวกในการปักชำ ถุงที่เหมาะสมควรเป็นถุงดำขนาด 5 x 11 นิ้ว ขึ้นไป ส่วนผสมของดินบรรจุถุง คือ หน้าดิน 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้า แล้วใส่ลงในถุงนำเหง้าไผ่ที่เรียมไว้ลงถุงกลบดินแกลบให้แน่น ตั้งถุงเรียงไว้กลางแจ้ง รดน้ำให้พอชุ่มอยู่ตลอดประมาณ 15 วัน ก็จะเริ่มแตกแขนง
ครบ 2 เดือน นำไปปลูกได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ตามแบบที่ 1 คือ เดือน กพ. – พค.

2.ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า จากส่วนที่เป็นเหง้าของหน่อที่ถูกตัดไปขาย แล้วเหลือตอติดดินไว้แตกแขนงขึ้นมารอให้แขนงที่แตกมาใหม่ มีใบแก่ (แตกใบขิง) จึงขุดเหง้าพร้อมแขนงนี้มาชำถุง แต่ต้องตัดกิ่งแขนงส่วนบนออกให้เหลือติดเหง้าขึ้นไปยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ใช้วัสดุชำเหมือนกับการขยายพันธุ์แบบที่ 1 ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชำแบบที่ 2 คือ ตั้งแต่เดือน พย. – พค.



โรคและแมลงศัตรูไผ่
-โรค ยังไม่มีปรากฏที่ชัดเจน
-แมลงศัตรู
1.ด้วงเจาะหน่อไผ่ โดยทั่วไปยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ
2.หนู กัดกินและทำลายหน่อไม้ เกษตรกรผู้ปลูกสามารถดูแลและควบคุมได้ และยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ

ไผ่ออกดอกแล้วแห้งตาย (ไผ่เป็นขี)
-สาเหตุ เกิดจากเหล่ากอต้นพันธุ์มีอายุมาก ซึ่งการนำมาขยายพันธุ์ไม่ทราบว่ากี่ชั่วอายุแล้ว
-การแก้ไข ถ้าหากต้นที่ปลูกไปแล้วออกดอกให้ขุดทิ้งแล้วปลูกทดแทน

มะละกอสมุนไพรไทย

                                                            มะละกอสมุนไพรไทย

น้ำมะละกอ


มะละกอเป็น ผลไม้ผลยืนต้นที่ผลสุกมีรสหวานหอมมาก ราคาถูกเป็นที่รู้จักกันดีจากการนำผลผลิตมาทำส้มตำ เป็นพืชเมืองร้อนที่พบเห็นได้ทั่วไป ผลสุกนอกจากการนำมารับประทานสุกแล้วยังสามารถนำมาแปรรูปในงานอุตสาหกรรม เกษตรได้อีกหลายอย่าง ในที่นี่จะแนะนำถึงการนำมะระกอทำเป็นน้ำสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


ส่วนผสม

มะละกอสุก 1/2 ลูก

น้ำผึ้ง 1/2 ถ้วย

เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

น้ำต้มสุก 3 ถ้วย


วิธีทำ

1.ปอกเปลือกมะละกอล้างให้หมดยาง ฝานเอาเมล็ดออก หั่นชิ้นเล็ก ๆ
2.ใส่เนื้อมะละกอสุกลงในโถปั่นใส่น้ำต้ม น้ำผึ้ง เกลือ ปั่นให้ละเอียด
3.ตักน้ำแข็งใส่แก้ว เทน้ำมะละกอใส่เสิร์ฟเย็น ๆ หรือจะแช่เย็นก็ได้

คุณค่าต่อสุขภาพ

มะละกอสุกเป็นผลไม้ที่มีวิตามินเอสูงมากรวมทั้งวิตามินซี เพกติน เหล็ก แคลเซียมและมีสาร CAROTENOID ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มะละกอเป็นสีส้ม ให้รสหวาน ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงน้ำนมรวมทั้งช่วยระบายท้องได้ดีอีกด้วย ต้นมะละกอ ขับประจำเดือน ลดไข้ดอก ขับปัสสาวะ ราก แก้กลากเกลื้อน ยาง ช่วยกัดแผล รักษาตาปลา และหูดฆ่าพยาธิ

พันธุ์มะละกอ

พันธืมะละกอ

เรื่องที่ 1 ประโยชน์และความสำคัญ
มะละกอเป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ โดยผล ดิบส่วนใหญ่จะใช้ เป็นผัก ที่ทำ ประโยชน์หรือ ทำอาหาร ได้มากมาย ส่วนผลสุกใช้เป็น ผลไม้ มีรสชาติอร่อย และยังมีวิตามินสูงอีกด้วย