วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การนำไม้ไผ่มาทำพัด
ความรู้จากหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ - 209 แปรรูปสินค้าเกษตร
คุณป้าลมเพย อาบัว เป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทำจักรสาน เมื่อว่างจากการทำนาก็รวมกลุ่มกันสานพัดเพื่อส่งขายตามท้องตลาดและมีคนมา สั่งให้ทำแล้วส่งไปต่างจังหวัด พัดที่กลุ่มป้าลมเพยทำจะมีลักษณะสีสันสดสวด และมีฝีมือประณีต สำหรับเรื่องราคา ถ้าราคาส่งจะอยู่ที่อันละ 8 บาท (พัดเล็ก) 10 บาท ขายปลีกอันละ 15 บาท อันใหญ่ กุ้งตัวละ 10 บาท ทำวันหนึ่ง ได้ 15 ด้ามต่อคน หนึ่งเดือนทางกลุ่มจะทำ 4 ครั้ง  


การนำไม้ไผ่มาทำพัด  

วิธีการทำพัดจะมีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้
1. ไม้ไผ่สีสุก
2. มีดจักตอก
3. สีย้อมผ้า
4. กระทะ
5. เตาถ่าน
6. แบบพิมพ์รูปพัด
7. ดินสอ
8. กรรไกร
9. กิ๊บติดผมสีดำ
10. เป็กตอกเย็บพัด
11. ฆ้อน
12. เลื่อย
13. สว่านเจาะด้ามพัด
14. จักรเย็บพัด
15. ด้าย
16. น้ำมันสน
17. เกลือ
18. สารส้ม
19. ฟืน
20. ไม้ขีดไฟ
21. กะละมัง
22. แปรงทาสี
23. ถ้วย
24. ผ้าตาดทอง
25. ผ้าลูกไม้
26. ผ้าดิบ


วิธีการทำพัดสาน
1. ขั้นตอนแรกคือการเลือกไม้ไผ่ที่จะนำมาสานพัด ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาจักตอกสานพัดคือไผ่สีสุก การคัดเลือกไม้จะต้องเป็นไม้ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป เรียกว่า “ไม้มันปลากด” เนื้อไม้จะขาวเป็นมัน เมื่อนำไปย้อมสี สีจะเป็นเงาสดใส ไม้ที่ไม่นิยมนำมาสานพัดคือ ไม้อ่อน เพราะไม้อ่อนมอดจะกิน เมื่อแห้งเส้นตอกจะแตกเพราะเนื้อไม้หดตัว สำหรับไม้แก่สีของเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาล เมื่อย้อมสีสีจะไม่สดใส และเนื้อไม้ที่แก่จะกรอบแตกหักง่าย ไม้ที่เป็นตามดเนื้อไม้จะดำ ผู้สานจะคัดเลือกไม้ที่มีลำสมบูรณ์ปล้องยาว ปลายลำหรือยอดไม่ด้วนเพราะ ไม้ที่ยอดหรือปลายลำด้วนเนื้อไม้จะหยาบไม่สมบูรณ์
2. การจักตอก นำไม้ที่คัดเลือกได้มาตัดเป็นท่อนด้วยเลื่อยคมละเอียด ถ้าเป็นพัดเล็กใช้ปล้องยาวประมาณ ๒๐–๓๐ เซนติเมตร และพัดใหญ่ใช้ปล้องยาวประมาณ ๓๐–๕๐ เซนติเมตร นำมาจักตอกเอาข้อไม้ออกให้หมด การจักตอกทำพัดละเอียด เส้นตอกจะต้องมีขนาดเล็ก เป็นพิเศษ มีความกว้างประมาณ ๓-๔ มิลลิเมตร ถ้าเป็นพัดธรรมดาหรือพัดหยาบขนาดเส้นตอก
จะใหญ่ การจัดตอกจะต้องนำผิวและขี้ไม้ออกให้หมด ลอกตอกด้วยมีดตอก ลักษณะพิเศษของ มีดตอกเป็นมีดที่มีส่วนปลายแหลมคมด้ามยาว เวลาจักตอก ผู้จัดจะให้ด้ามมีดแนบลำตัว เพื่อบังคับให้เส้นตอกมีความบางเสมอกันตลอดทั้งเส้น การจักตอกนิยมจักครั้งละมาก ๆ นำตอกที่จักไปผึ่งลมหรือแดดให้แห้งก่อนนำไปย้อมสี
3. การย้อมสีต้องย้อมลงในภาชนะที่เตรียมไว้ และย้อมครั้งละมาก ๆ เป็นการประหยัดสี สลับสีตามต้องการ วิธีการย้อมต้องย้อมลงในน้ำเดือด จุ่มเส้นตอกให้ทั่วตลอดทั้งเส้น เมื่อย้อมแล้วนำเส้นตอกที่ย้อมไปล้างลงในน้ำเย็น เป็นการล้างสีที่ไม่ติดเนื้อไม้ออกก่อน จะเหลือเฉพาะสีที่ติดเนื้อไม้เท่านั้น นำไปผึ่งลมหรือแดดให้แห้งก่อนนำไปสานพัด

กระปุกออมสิน จากไม้ไผ่

กระปุกออมสิน จากไม้ไผ่

ในส่วนของการทำ กระปุกออมสินจากไม่ไผ่ นั้น จริงๆ แล้วเป็นผลพลอยได้จากการตัด ไม้ไผ่ ซึ่งเกิดจากการตัด ไม้ไผ่ นำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ

ไม้ไผ่ เป็นพืชที่พบได้ในพื้นที่ทั่วๆ ไป และนับว่าเป็นพืชที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องประดับ เครื่องใช้ต่างๆ โดยในจังหวัดแม่ฮ่องสอนนี้ เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีต้นไผ่ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป และมีเป็นจำนวนมาก ประชาชนในพื้นที่จึงนำ ไม้ไผ่ มาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ รวมถึงทำเป็นของฝากและ ของที่ระลึก ต่างๆ มากมาย
smile-handmade
เมื่อเทียบกับสังคมเมืองที่มีแต่การใช้โลหะ พลาสติก และวัสดุต่างๆ ที่มีการคิดค้นขึ้นมาแล้ว ในกลุ่มประชาชนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนกลับตรงกันข้าม นั่นคือพยายามนำสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ ในส่วนของ กระปุกออมสิน นั้นในเมืองก็นิยมทำมาจากโลหะ หรือปูนปาสเตอร์ แต่ในสังคมที่อยู่กับธรรมชาติแล้ว สามารถที่จะประยุกต์หรือสรรหามาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะทำมาจากดิน กะลามะพร้าว หรือ กระบอกไม้ไผ่

ในส่วนของการทำ กระปุกออมสินจากไม่ไผ่ นั้น จริงๆ แล้วเป็นผลพลอยได้จากการตัด ไม้ไผ่ ซึ่งเกิดจากการตัด ไม้ไผ่ นำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ตัดมาทำบ้านเรือน เครื่องจักสาน หรือ เครื่องประดับ ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะมีไม้ไผ่บางส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เหลืออยู่บ้าง ซึ่งก็เพียงแค่การหาไม้ไผ่ที่มีขนาดพอเหมาะ ตามความต้องการของแต่ละคน อาจจะขนาดเล็กบ้าง ขนาดใหญ่บ้างตามชอบ เมื่อได้มาก็ตัดหัวตัดท้ายให้เหลือเพียงแค่ปล้องเดียว แล้วก็เจาะรูที่ด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้สามารถใส่เหรียญหรือใส่แบงค์ลงไปได้
ปัจจุบันนี้เมื่อเดินทางไปในส่วนต่างๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนอาจจะได้พบกับ ภูมิปัญญา ท้องถิ่นนี้ขายโดยทั่วไป อาจจะมีการตกแต่งบ้าง หรืออาจจะคงสภาพแบบเดิมๆ ที่ไม่ได้ตกแต่งเลย ราคาก็ 10 - 30 บาท ตามแต่ละขนาด จากสิ่งที่หลายๆ คนมองว่าไม่มีค่าก็อาจจะมีค่าขึ้นมาได้
สิ่งของที่อยู่รอบตัวเรา หากเรามองว่าไม่มีค่า สิ่งนั้นก็จะไม่มีค่าอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่หากเรามองให้มีค่า สิ่งนั้นก็จะมีค่าขึ้นมาทันที แม้ขยะยังมีค่าสำหรับคนหลายๆ คน แม้มูลหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ ก็ยังมีค่า เพราะฉะนั้นลองมองรอบๆ ตัวดู ว่าอะไรบ้างที่เรามองว่าไม่มีค่าแล้วอยู่กับเรา สิ่งนั้นอาจจะมีค่าสำหรับผู้อื่นก็ได้ จงใช้ หรือจงให้ เพื่อสิ่งเหล่านั้นจะได้ไม่ไร้ค่าอีกต่อไป
นอกจากนี้ทุกสิ่งล้วนมีคุณค่า แล้วคุณล่ะ มีคุณค่าหรือไ

ไผ่กระถางแก้ว ทำเงินยุคใหม่

"
ทำง่าย-ขายได้ตลอดปี!

ความคิดสร้างสรรค์-การต่อยอด ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทุก ๆ อาชีพ เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีกับการเพิ่มจุดขายให้กับสินค้า จากสินค้าธรรมดาเมื่อนำมาประยุกต์ดัดแปลงก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างน่าสนใจ อย่างเช่นงาน ’ไผ่ในกระถางแก้ว“ ที่ทีม ’ช่องทางทำกิน“ มีข้อมูลมานำเสนอให้พิจารณากันในวันนี้...

“จักรพันธ์ วรรณพุฒ” เจ้าของไอเดีย เล่าว่า มีอาชีพขายต้นไม้จำพวกไม้ประดับอยู่ที่สวนจตุจักร โดยตอนแรกเน้นจำหน่ายต้นอโกลนีมา ต่อมากระแสความนิยมลดลง อีกทั้งตลาดต่างประเทศซึ่งเคยเป็นตลาดใหญ่ซบเซาลง จึงหันมาสนใจไม้ประดับอย่าง ’ไผ่กวนอิม“ ไม้ชื่อมงคลที่สวยงาม และสามารถดัดตกแต่งรูปทรงได้มากมายหลายแบบ โดยแรก ๆ
ก็จำหน่ายต้นไผ่ให้กับลูกค้าเฉย ๆ ต่อมามองว่าสามารถนำมาต่อยอดโดยเพิ่มลูกเล่นและการประดับตกแต่งเข้าไป น่าจะทำให้สินค้าขายได้ราคาสูงขึ้น จึงมองไปที่การจัดวางไผ่กวนอิม ลงภาชนะเครื่องแก้ว เพราะรูปทรงสวยงาม แปลกตา มีหลากหลายแบบ จึงทดลองจำหน่ายที่หน้าร้าน ปรากฏว่าลูกค้าให้การตอบรับ จึงต่อยอดโดยใช้หินสีมาเพิ่มสีสันเข้าไปอีก

“ที่เลือกทำต้นไม้ในกระถางแก้ว เพราะอยากทำอะไรที่แปลกใหม่ออกไปจากตลาดที่มีอยู่ โดยต้นไผ่กวนอิมแต่ละต้นจะดีไซน์และตกแต่งไม่เหมือนกัน แต่หลัก ๆ จะเน้นความน่ารักสวยงาม เช่นปลูกต้นไผ่ให้เป็นแนวกำแพง ส่วนที่เลือกใช้หินและกรวดสีนั้น ตอนแรกคิดจะใช้ดินวิทยาศาสตร์เหมือนกัน แต่ปรากฏว่าต้นไผ่มีอายุสั้น เพราะรากไม่มีที่ยึดเกาะ จึงเปลี่ยนมาใช้หินและกรวดสีแทน เพื่อให้รากไผ่มีที่ยึดเกาะ ทำให้ลำต้นแข็งแรง และมีอายุยาวนานขึ้น” เจ้าของงานกล่าว

สำหรับเหตุที่เลือกไผ่กวนอิมมาใช้เป็นพืชหลักในการผลิตชิ้นงาน จักรพันธ์บอกว่าไผ่กวนอิมอยู่ได้นานกว่าไม้ชนิดอื่น ถ้าหมั่นบำรุงรักษา รดน้ำไปเรื่อย ๆ ก็จะอยู่ได้ยาวนาน ลำต้นก็จะสูงใหญ่ และแตกยอดออกมาเรื่อย ๆ อีกทั้งยังสามารถนำมาดัดหรือเปลี่ยนรูปทรงได้หลากหลาย จึงไม่ค่อยมีปัญหากับการจัดวางลงในภาชนะแก้วหลากหลายรูปทรง

แต่ที่สำคัญ และถือว่าเป็นจุดเด่นก็คือ เรื่อง ’ชื่อเป็นมงคล“ ซึ่งเหมาะกับการให้เป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเปิดร้านค้า ขึ้นบ้านใหม่ วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน รวมถึงมอบเป็นของที่ระลึกในโอกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ จึงสามารถทำขายได้ตลอดทั้งปี โดยไผ่นั้นราคาในตลาดจะขายส่งอยู่ที่ประมาณ 12-18 บาท ต่อหนึ่งกอ แต่ถ้าซื้อปลีกราคาจะสูงขึ้น อยู่ที่ประมาณต้นละ 25-30 บาท สำหรับภาชนะกระถางและขวดแก้วที่นำมาใช้นั้น ราคาอยู่ที่ประมาณ 15 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปทรง ส่วนหินและกรวดสีราคาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 20 บาทขึ้นไป
“ไผ่ที่เหมาะจะนำมาปลูก สามารถใช้ได้ทั้งขนาดลำต้นอ้วนและลำต้นผอม ตามแต่ชอบ ซึ่งชนิดของไผ่กวนอิมที่ตลาดนิยมจะประกอบไปด้วย ไผ่เงิน ซึ่งจะมีสีเขียวอ่อนมากถึงขาว ลำต้นจะเล็ก ไผ่หยก ลำต้นจะมีสีเขียวเข้ม และ ไผ่ทอง ลำต้นจะมีสีเหลืองนวล ๆ หรือออกเขียวอ่อน ๆ”

นอกจากไผ่กวนอิมแล้ว การเลือกภาชนะจัดวางก็ถือว่าสำคัญ ต้องเน้นรูปแบบสวยงาม สามารถเลือกใช้ได้ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ในส่วนของหินและกรวดสี ก็ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับภาชนะและการจัดวาง โดยในส่วนหินและกรวดสีนี้ จะมีหลากหลายสีสันเพื่อให้ลูกค้าเลือก เพราะบางคนอาจต้องการสีที่ถูกต้องหรือเหมาะกับโฉลกตนเอง

ทุนเบื้องต้น ใช้ประมาณ 5,000 บาทในการลงทุนครั้งแรก ส่วนทุนวัตถุดิบ อยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย ซึ่งเมื่อจัดเป็นชุดแล้ว ราคาขายเริ่มต้นที่ 69 บาท จนถึง 500 บาท ขึ้นกับขนาดของต้นไผ่และภาชนะแก้วที่ใช้
วัสดุอุปกรณ์การทำหลัก ๆ ประกอบด้วย ไผ่กวนอิม, กระถางและขวดแก้ว, หินและกรวดสี อุปกรณ์ทั้งหมดหาซื้อได้ไม่ยาก มีจำหน่ายตามร้านขายของตกแต่งสวนทั่วไป

ขั้นตอนการทำ เริ่มจากนำไผ่กวนอิมที่จะนำมาจัด มาแช่น้ำจนกว่าต้นไผ่จะแทงรากออกมา เหตุที่ต้องนำไปแช่น้ำเพื่อให้ต้นไผ่แทงรากเพิ่ม เพราะจะทำให้ได้ต้นไผ่ที่แข็งแรง และมีรูปทรงที่คงทนและตั้งต้นได้ดี เมื่อได้ต้นไผ่มาแล้วก็นำมาจัดวางลงในภาชนะแก้ว จากนั้นนำหินหรือกรวดสีที่เตรียมไว้ค่อย ๆ เทใส่ลงไป ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างยาก ใช้เวลา และต้องพิถี พิถันเป็นพิเศษ เพราะต้องจัดเรียงให้หินหรือกรวดสีอยู่ในแนวเดียวกัน โดยขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับจินตนาการ

“จากราคาขายที่ไม่แพงมาก ประกอบกับรูปแบบที่ดูสวยงาม ทำให้มีลูกค้าหลายกลุ่ม เหมาะสำหรับเป็นของฝาก ของขวัญในเทศกาลต่าง ๆ หรือจะนำไปตั้งโชว์ประดับในที่ทำงานหรือที่บ้านก็ได้ ต้นไม้ในกระถางแก้วทำได้ไม่ยาก หลาย ๆ คนสามารถทำเป็นงานอดิเรกได้ในยามว่าง” จักรพันธ์ เจ้าของผลงาน กล่าว

สนใจชิ้นงานของจักรพันธ์ ไปดูได้ที่ ร้านอุษาไม้ประดับ โครงการ 15 ตลาดนัดสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี โทร.08-1900-2706 หรืออีเมล jackyja71@gmail.com ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่ง “ช่องทางทำกิน” ที่ทำไม่ยาก.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์/จิตสุภา เรืองประเสริฐ : เรื่อง-ภาพ
ข้อมูลความเป็นมาของ "หนังสือพิมพ์เดลินิวส์"

การปลูกไผ่เลี้ยง

การปลูกไผ่เลี้ยง


พันธุ์ไผ่เลี้ยง

1.พันธ์หนัก เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ปกติในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – สิงหาคม) แต่ถ้าจะผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มกับทุน 2.พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่สามารถให้หน่อไผ่ ตกในช่วงฤดูฝน และสามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ยแล้วจะให้หน่อทันที ถ้าเกษตรกรปลูกมีการบำรุงรักษาดี ผลผลิตก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ที่จะปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อ ควรปลูกพันธุ์เบา



การคัดเลือกพื้นที่ปลูกสวนไผ่
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกไผ่เลี้ยง ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว ดินโคกลูกรัง การเจริญเติบโต และการให้หน่อจะไม่ดี


การเตรียมดินปลูก
-ไถครั้งแตกด้วยรถไถผาน 3 ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืช
-ไถครั้งที่ 2 ด้วยรถไถผาน 7 เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย เหมาะแก่การปลูกพืช



ระยะปลูก
สามารถปลูกได้หลายขนาด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้เครื่องมือในการจัดการแปลงหลังปลูก
1.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 2 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น
2.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น
3.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 6 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 66 ต้น
ที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรทั่วไป ควรปลูกระยะ 4 x 4 ม.

การปลูก
1.ปลูกด้วยตอชำถุง (มีค. – กค.) ขุดหลุ่มขนาด 50 50 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณ 1 ปุ้งกี๋ คลุกเคล้าเข้ากับดินลงในหลุมปลูก ฉีกถุงดำออกอย่าให้ดินแตก นำลงหลุมกลบดินให้แน่น แล้วรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (ถ้าฝนไม่ตก)
2.ปลูกด้วยเหง้า หรือตอไผ่ที่ไม่ได้ชำถุง โดยขุดเหง้าหรือตอไผ่ แล้วนำไปปลูกทันทีด้วยการขุดหลุมเฉพาะ ไม่ต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปลูกแล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกโดยวิธีนี้ คือ เดือน มค. – เมย. เหมาะสำหรับผู้ที่มีแหล่งน้ำและสะดวกในการให้น้ำ


การดูแลรักษา
-ถ้าไม่มีฝนตกควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
-กำจัดวัชพืชทำความสะอาดแปลงอย่าปล่อยให้หญ้าคลุม
-เมื่อไผ่ปลูกได้ 7 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กออกให้เหลือไว้แต่ต้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 ซม. แล้วพรวนดินรอบกอ ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 5 – 10 กก. คลุมโคนด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง หรือฟางข้าว เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดิน ถ้ามีน้ำในไร่นาควรให้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
-เมื่อไผ่มีอายุได้ 8 เดือน ขึ้นไป ก็จะสามารถให้หน่อและเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอ เพื่อจะได้ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในฤดูต่อไป


เทคนิคการตัดแต่งกอและกิ่งไผ่
-หลักสำคัญในการตัดแต่งกิ่งไผ่ อยู่ที่ปีที่ 2 ซึ่งจะต้องตัดต้นที่แก่และยู่ชิดกันออก โดยใช้เลื่อยตัดแต่งกิ่งเฉพาะ จะสะดวกให้เหลือจำนวนต้นไว้ในแต่ละกอ ไม่เกิน 12 ตัน ต่อไป (การตัดแต่งควรตัดทุกปีอย่างต่อเนื่อง ปีละ 1 ครั้ง)
-ฤดูกาลที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง คือเดือน ธค. – มค.
-หลังตัดแต่งเสร็จให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 15 – 20 กก. แล้วให้น้ำทันที เพื่อเร่งให้ได้ผลผลิตหน่อไผ่ช่วงต้นฤดู ซึ่งขายได้ราคาสูง
-ถ้าจะเร่งการออกหน่อ และเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น ให้เสริมด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 กอละประมาณ 2 กำมือ โดยใส่รอบๆ กอ แล้วจึงกลบด้วยปุ๋ยคอกแล้วให้น้ำทันที ถ้าไม่มีน้ำให้ก็ต้องรอเก็บผลผลิตในฤดูฝนตามปกติ แต่ผลผลิตก็จะได้มากกว่า สวนที่ไม่มีการตัดแต่งใส่ปุ๋ยอย่างแน่นอน



การเก็บผลผลิตหน่อไผ่
-ขนาดความยาวของหน่อไผ่ที่เหมาะสม 40 – 50 ซม. หรือ ถ้าเห็นหน่อไผ่พ้นดินขึ้นมาให้รออีก 4-6 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้
-ช่วงเดือนสิงหาคม ควรคัดเลือกหน่อที่มีลักษณะสมบูรณ์และแตกหน่อออกอยู่ห้างกอไว้เป็นลำต้นต่อไป
-ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,700 กก.
-รายได้เฉลี่ย 17,000 บาท/ไร่


การขยายพันธุ์ไผ่
การขยายพันธุ์ไผ่เลี้ยง ทำได้ 2 ลักษณะ

1.ขยายพันธุ์โดยการขุดเอาเหง้าของลำต้นไผ่ที่มีอายุ 1 ปี แต่ไม่ควรเกิน 1 ปีครึ่ง เมื่อขุดออกมาแล้วควรตัดให้เหลือตอไว้ประมาณ 40 ซม. และตัดแต่งรากออกพอประมาณ เพื่อสะดวกในการปักชำ ถุงที่เหมาะสมควรเป็นถุงดำขนาด 5 x 11 นิ้ว ขึ้นไป ส่วนผสมของดินบรรจุถุง คือ หน้าดิน 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้า แล้วใส่ลงในถุงนำเหง้าไผ่ที่เรียมไว้ลงถุงกลบดินแกลบให้แน่น ตั้งถุงเรียงไว้กลางแจ้ง รดน้ำให้พอชุ่มอยู่ตลอดประมาณ 15 วัน ก็จะเริ่มแตกแขนง
ครบ 2 เดือน นำไปปลูกได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ตามแบบที่ 1 คือ เดือน กพ. – พค.

2.ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า จากส่วนที่เป็นเหง้าของหน่อที่ถูกตัดไปขาย แล้วเหลือตอติดดินไว้แตกแขนงขึ้นมารอให้แขนงที่แตกมาใหม่ มีใบแก่ (แตกใบขิง) จึงขุดเหง้าพร้อมแขนงนี้มาชำถุง แต่ต้องตัดกิ่งแขนงส่วนบนออกให้เหลือติดเหง้าขึ้นไปยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ใช้วัสดุชำเหมือนกับการขยายพันธุ์แบบที่ 1 ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชำแบบที่ 2 คือ ตั้งแต่เดือน พย. – พค.



โรคและแมลงศัตรูไผ่
-โรค ยังไม่มีปรากฏที่ชัดเจน
-แมลงศัตรู
1.ด้วงเจาะหน่อไผ่ โดยทั่วไปยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ
2.หนู กัดกินและทำลายหน่อไม้ เกษตรกรผู้ปลูกสามารถดูแลและควบคุมได้ และยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ

ไผ่ออกดอกแล้วแห้งตาย (ไผ่เป็นขี)
-สาเหตุ เกิดจากเหล่ากอต้นพันธุ์มีอายุมาก ซึ่งการนำมาขยายพันธุ์ไม่ทราบว่ากี่ชั่วอายุแล้ว
-การแก้ไข ถ้าหากต้นที่ปลูกไปแล้วออกดอกให้ขุดทิ้งแล้วปลูกทดแทน

มะละกอสมุนไพรไทย

                                                            มะละกอสมุนไพรไทย

น้ำมะละกอ


มะละกอเป็น ผลไม้ผลยืนต้นที่ผลสุกมีรสหวานหอมมาก ราคาถูกเป็นที่รู้จักกันดีจากการนำผลผลิตมาทำส้มตำ เป็นพืชเมืองร้อนที่พบเห็นได้ทั่วไป ผลสุกนอกจากการนำมารับประทานสุกแล้วยังสามารถนำมาแปรรูปในงานอุตสาหกรรม เกษตรได้อีกหลายอย่าง ในที่นี่จะแนะนำถึงการนำมะระกอทำเป็นน้ำสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


ส่วนผสม

มะละกอสุก 1/2 ลูก

น้ำผึ้ง 1/2 ถ้วย

เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

น้ำต้มสุก 3 ถ้วย


วิธีทำ

1.ปอกเปลือกมะละกอล้างให้หมดยาง ฝานเอาเมล็ดออก หั่นชิ้นเล็ก ๆ
2.ใส่เนื้อมะละกอสุกลงในโถปั่นใส่น้ำต้ม น้ำผึ้ง เกลือ ปั่นให้ละเอียด
3.ตักน้ำแข็งใส่แก้ว เทน้ำมะละกอใส่เสิร์ฟเย็น ๆ หรือจะแช่เย็นก็ได้

คุณค่าต่อสุขภาพ

มะละกอสุกเป็นผลไม้ที่มีวิตามินเอสูงมากรวมทั้งวิตามินซี เพกติน เหล็ก แคลเซียมและมีสาร CAROTENOID ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มะละกอเป็นสีส้ม ให้รสหวาน ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงน้ำนมรวมทั้งช่วยระบายท้องได้ดีอีกด้วย ต้นมะละกอ ขับประจำเดือน ลดไข้ดอก ขับปัสสาวะ ราก แก้กลากเกลื้อน ยาง ช่วยกัดแผล รักษาตาปลา และหูดฆ่าพยาธิ

พันธุ์มะละกอ

พันธืมะละกอ

เรื่องที่ 1 ประโยชน์และความสำคัญ
มะละกอเป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ โดยผล ดิบส่วนใหญ่จะใช้ เป็นผัก ที่ทำ ประโยชน์หรือ ทำอาหาร ได้มากมาย ส่วนผลสุกใช้เป็น ผลไม้ มีรสชาติอร่อย และยังมีวิตามินสูงอีกด้วย

พันธุ์มะละกอ

มะละกอกวน

มะละกอกวน

มะละกอกวน
ส่วนประกอบมะละกอกวน
มะละกอดิบ 2-3 ผล
น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม



วิธีทำมะละกอกวน

1. ปอกเปลือกมะละกอ ล้างยางออกผึ่งให้แห้งและใช้เครื่องไสๆเป็นเส้น ตวงมะละกอ 2 ถ้วย ใช้น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
2. เคล้ามะละกอกับน้ำตาล เติมนำเปล่านิดหน่อยใส่กระทะตั้งไฟปานกลาง กวนไปจนค้นเหนียวก็ใช้ได้ยกลง ตักใส่ภาชนะตามความประสงค์ ใช้ทานเป็นขนมหวานและทาขนมปังรับประทานอร่อยดี
หมายเหตุ ถ้าใช้มะละกอสุก กวนอย่างเดียวกับฟักทองหรือเผือก

 

ชามะละกอ


tea

ชามะละกอ (มะละกอดิบต้มน้ำชงชา)
ล้างไขมันในลำไส้


ชามะละกอ

คือ การนำเอามะละกอดิบมาปอกเปลือก แล้วหั่นเนื้อมะละกอใส่หม้อ เติมน้ำ ต้มให้เดือด แล้วตักเนื้อมะละกอออกไป เอาเฉพาะน้ำมาใช้ชงชาเพื่อดื่มแทนชาทั่วไป
เมื่อดื่มชามะละกอ จะเป็นการล้างลำไส้ โดยไม่ต้องสวนทวาร ช่วยล้างระบบดูดซึม คือ ล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ อันเนื่องมาจากการกินอาหารผัดน้ำมันเป็นประจำ คราบไขมันจะเกาะ ตัวที่ผนังลำไส้เป็นกาวเหนียว จึงเกิดการขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร และวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
เมื่อระบบดูดซึมไม่ดี หรือดูดซึมไม่ได้ เวลากินอาหารก็จะได้แค่อิ่ม แต่ไม่ได้สารอาหาร เมื่อเป็นอย่างนี้นานวันเข้า ความเจ็บป่วยก็จะเข้ามาเยือน
เมื่อร่างกายปกติ ไม่เจ็บไม่ป่วย ก็ควรล้างลำไส้ไว้บาง เพื่อล้างคราบน้ำมันเก่าที่เคย กินอาหารผัดน้ำมันมานานหลายปี
สารของมะละกอจะเกิดการถักทอกับสารของใบชา ทำให้ช่วยย่อยไขมันและล้างไขมัน ออกจากผนังลำไส้ ควรดื่มเพื่อล้างเป็นประจำ ดื่มแทนน้ำอัดลมได้
ถ้าไม่ล้างลำไส้ ก็เปรียบเหมือนกินข้าวไม่ล้างจาน แล้วใช้จานใบเก่าที่ไม่ล้าง เอามาใส่ข้าวกินใหม่
เมื่อล้างลำไส้แล้ว ก็ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อไปบำรุงร่างกายด้วย ถ้าหลีกเลี่ย อาหารผัดน้ำมันไม่ค่อยได้ ก็กินเท่าที่จำเป็น คือ กินให้น้อยลง แล้วกินชามะละกอไปล้างลำไส้ทุกวันเมื่อมีเวลาว่าง



การทำชามะละกอกินเพื่อล้างลำไส้ให้ได้ประโยชน์ ที่จริงแล้วไม่ควรเติมน้ำตาล ยกตัวอย่างเช่น เรากินข้าวขาหมู แล้วกินของหวานหรือชาที่เติมน้ำตาล มันจะทำให้ไขมันกลายเป็นไขมันฝ่ายร้ายได้ หรือมือไหนที่เรากินไขมัน เช่น เนื้อติดมัน ก็ไม่ควรกินของหวานตามเข้าไปควรกินกระเทียมเป็นตัวลด โคเลสเตอรอลแล้วกลับมาบ้านเราก็กิน ชามะละกอ เพื่อล้างไขมันในลำไส้ออกไป


ประโยชน์

สูตรชามะละกอ

- มะละกอดิบไม่อ่อนเกินไป1 ลูก
- ชาเขียว หรือชาจีน หรือชาใบหม่อน อย่างใดอย่างหนึ่ง
- เพิ่มดอกเก๊กฮวย หรือใบเตย หรือรากเตยลงไปด้วยก็ได้ เพราะดอกเก๊กฮวย ใบเตยจะบำรุงหัวใจ
รากเตยก็ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้มีกำลัง ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่



วิธีทำ

1. ปอกเปลือกมะละกอล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นแบบชิ้นฟัก ไม่ถึงครึ่งลูก
2. นำมะละกอที่หั่นใส่หม้อ แล้วเติมน้ำ 3 - 4 ลิตร ตั้งไฟ จะเติมดอกเก๊กฮวย หรือใบเตย หรือรากเตย ก็ใส่ไประหว่างนี้
3. เมื่อน้ำเดือดสักพักหนึ่งยกหม้อลง ตักมะละกอ และดอกเก๊กฮวยออก ให้เหลือแต่น้ำ
4. นำน้ำนั้นไปชงชา ใส่ใบชาประมาณครึ่งกำมือ การแช่ชานันไม่ควรเกิน 5 นาที
5. กรองเอากากชาทิ้งไป ทิ้งไว้ให้เย็นดื่มได้ทันที หรือบรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 3 วัน


วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กล้วย

กล้วยกับความเชื่อของคนไทย
ความเชื่อเรื่องกล้วยของคนไทยมีอยู่มากมาย เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างเนิ่นนานแล้ว ในหญิงมีครรภ์มักไม่รับประทานกล้วยแฝดเพราะมีความเชื่อว่าจะได้ลูกแฝด แต่ถ้าบ้านไหนอยากได้ลูกแฝดก็รับประทานกล้วยแฝด
สำหรับหญิงแม่ลูกอ่อนถ้ารับประทานแกงหัวปลี จะมีน้ำนมมาก ถ้าคิดตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว หัวปลีเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือดดี จึงทำให้มีน้ำนมมากนั้นเอง
ต้นกล้วยที่ขาวเนียนสะอาด ไม่มีกาบใบแห้ง มักเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของนางพรายตานี เป็นผีผู้หญิง ที่มีหน้าตาสวยงาม ผิวขาว จะปรากฏตัวตอนกลางคืน โดยยืนอยู่ใต้ต้นกล้วยนั้นๆ
ในด้านยาอายุวัฒนะ หากนำกล้วยแช่น้ำผึ้งปิดไหแล้วใช้ปูนแดงทาก่อนฝาปิด จากนั้นเอาไว้ใต้ฐานพระในวันเข้าพรรษา ปล่อยไว้นานสามเดือน ก็สามารถนำมารับประทานได้ ทั้งนี้ก็เป็นแนวคิดด้านการถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งด้วย
ในงานมงคลมักมีกล้วยเข้ามาร่วมเกี่ยวในพิธีด้วย เช่น กล้วยทั้งเครือ กล้วยดิบ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง และความสงบร่มเย็น
ในสมัยก่อนคนที่เป็นโรคฝีดาษ มีแผลพุพอง ก็มักให้นอนบนใบกล้วยเพราะจะทำให้น้ำเหลืองไม่ติดกับเสื้อผ้าบังเกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย ส่วนการประหารชีวิตนั้น ก่อนลงมือประหารจะมีการนำใบกล้วยมาปูรองก่อน เพื่อกันเลือดไหลลงไปบนดิน เป็นต้น

ความเชื่อเรื่องกล้วยของชาวต่างชาติ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์แบบย่อของกล้วยว่า Musa กล่าวกันว่า Musa มาจากคำภาษาอาหรับว่า Muz ก็มีรากเดิมมาจากคำสันสกฤตว่า Mocha อีกทอดหนึ่งซึ่งหมายถึงกล้วย
เหมือนกัน อีกกระแสหนึ่งที่ฟังดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าบอกว่า Musa เป็นชื่อตั้งตามหมอชาวอาหรับในสมัยโรมัน คือ Antonius Musa ผู้นำกล้วยจากอินเดียมากจากอินเดียมาปลูกในถิ่น
ทางเหนือของอียิปต์ ก่อนหน้าที่ฝรั่งจะเรียกกล้วยว่า Banana อย่างเป็นเอกฉันท์ กล้วยถูกเรียกว่า Plantain ตามคำภาษาสเปนว่า Plantano ซึ่งอาจมีรากมาจากคำลาตินว่า Planta ที่
แปลว่าใบกว้าง (spreading leaf) นอกจากนั้นฝรั่งเศสและอิตาลีเคยเรียกกล้วยว่า "fig" โดยมาจากคำเต็ม ๆ ว่า figue d Adam หรือ fico d Adamo ซึ่งอาจแปลได้ว่า "มะเดื่อของอาดัม"
อาดัมนี่คือ (อาดัมกับอีฟในตำนานสร้างโลกของศาสนาคริสต์) ส่วน fig น่าจะหมายถึงใบมะเดื่อที่อาดัมใช้ปิดอวัยวะเพศของตน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังมีที่ใช้คำนี้อยู่คือ
banana fig แต่นี่หมายถึงกล้าวยตากโดยเฉพาะส่วนคำ Banana ในปัจจุบันเรียกตามภาษาแอฟริกาตะวันตกซึ่งอาจมีตากจากคำภาษาอาราเบียว่า Banan ซึ่งหมายถึงนิ้วมือ
หรือนิ้วเท้าในสังคมไทย กล้วย ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบแสดงถึงคุณลักษณะทำได้ง่าย เช่นง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก หรือเรื่องกล้วยกล้วย แต่ในสังคมตะวันตกยุค
บริโภคนิยม ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบเป็นสัญลักษณ์กามารมณ์ โดยเฉพาะอวัยวะเพศผู้ชายเช่นสโลแกนโฆษณาว่า unzip a banana นอกจากนั้นยังมีที่ใช้ banana ในภาษาพูดอัน
หมายถึงอาการ บ้า หรือ เพี้ยน ฝรั่งเองก็ยังสืบค้นไม่ได้ว่า บ้าจะเกี่ยวข้องกับบานานาได้อย่างไรกล้วยในเอเชียใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งจริยธรรม คุณความดี ความงาม
ความเจริญงอกงามในหมู่ชาวอาหรับถือว่ากล้วยเป็นพันธุ์ไม้แห่งสวรรค์ หรือพันธุ์ไม้แห่งปัญญา ที่รู้แยกแยะความดีกับความเลว ตำนานอินเดียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้ของผู้มีปัญญา
โดยเล่าขานถึงฤาษีในดงกล้วย ผู้กินกล้วยเป็นอาหารจนเกิดกำลังและปัญญาเป็นที่อัศจรรย์ หลายประเทศในเอเชียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้สำหรับเซ่นสังเวยผีและเทวดา ตลอดจน
ผู้มีพระคุณของไทยเรา กล้วยเป็นของที่ขาดไม่ได้ใน ตั้งขันข้าว หรือค่าบูชาคุณ หมอตำแยที่มาทำคลอดให้ กล้วยทั้งหวีเป็นของเซ่นเทวดาและบรรพบุรุษในพิธีเซ่นไหว้อย่างคนจีน
น้ำชาและผลไม้เป็นเครื่องเซ่นพื้นฐานและผลไม้เครื่องเซ่นที่ขาดเสียมิได้ก็คือส้มสีทองและกล้วยทั้งหวี ขนมกล้วยเป็นขนมที่พบได้ประจำในพิธีหมั้นพิธีแต่งงานของชาวไทยสมัยก่อน เพราะกล้วยหมายถึงความเจริญงอกงาม ได้ผลดกดื่นเหมือนกล้วยในแทบทุกชนชาติของเอเชีย ยังมีเหตุผลความเชื่อลึก ๆ ว่ากล้วยเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและการเจริญเติบโต ข้อนี้เป็นความเชื่อที่ถูกต้องเพระเด็กในสังคมเมืองทั่วโลกในปัจจุบันก็เติบโตโดยอาศัยกล้วยแปรรูป หรือพิวรี (banana puree) มาใช้ผสมเป็นอาหารเด็กจนได้ชื่อว่า "เด็กยุคพิวรีกล้วย" อยู่แล้ว (the pureed-banana generation

รูปร่างและลักษณะของกล้วยแต่ละชนิดในประเทศไทย

เนื่องจากกล้วยแต่ละชนิดมีรูปร่างและลักษณะเฉพาะตัว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องแจกแจงให้เกิดความเด่นชัดของกล้วยแต่ละชนิดไว้ดังต่อไปนี้ :
  กล้วยสกุล Musa : มีการแตกหน่อและใช้ผลรับประทานได้
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Callimusa: ที่พบในประเทศไทยขณะนี้มีชนิดเดียว คือ
กล้วยป่าชนิด Musa gracilis Horltt. ชื่ออื่นๆ กล้วยทหารพราน หรือกล้วยเลือด
กล้วยชนิดนี้ มีลำต้นเทียมสูง 0.6 – 2 เมตร โคนต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร กาบและใบมีปื้นสีม่วงเข้ม ใบกว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 90-150 เซนติเมตร สีเขียว มีนวล ก้านใบยาว 30-70 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งยาว 60 เซนติเมตรหรือกว่านั้น ก้านช่อดอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น ดอกตัวเมียสีขาวหม่น ปลายสีเขียว ยาว 2.5-4 เซนติเมตร เรียวชิดกัน 3-8 แถว แถวหนึ่ง มี 2-4 ดอก ใบประดับกว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เวนติเมตร สีม่วงปลายสีเขียว อาจร่วงหลุดไปก่อนบ้าง ดอกตัวผู้สีเหลือง ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลตรง สีเขียว มีนวลและมีทางสีม่วงตามยาวของผล ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม 2-3 เหลี่ยม ปลายทู่ ก้านผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนมีขนประปราย แก่แล้วผิวเกลี้ยง
กล้วยป่าชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้ ในท้องที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส ขึ้นในป่าดิบชื้น ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย ชาวมลายูเรียกว่าปีชังกะแต ปีชังเวก และปีชังโอนิก
 
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Eumusa: ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ
กล้วยป่า ( Musa acuminata Colla) ชื่ออื่น ๆ กล้วยแข้ ( เหนือ ). กล้วยเถื่อน ( ใต้ ). กล้วยลิง ( อุตรดิตถ์ ). กล้วยหม่น ( เชียงใหม่ )
กล้วยป่า มี ลำต้นเทียมสูง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นนอกมีปื้นดำ มีนวลเล็กน้อย ส่วนด้านในสีแดง ก้านใบสีชมพูอมแดงมีจุดดำ มีครีบเส้นกลางใบสีเขียว ใบชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ๆ มาก ใบประดับรูปค่อนข้างยาว ปลายแหลมด้านบนสีม่วงอมแดง มีนวล ด้านล่างที่โคนสีแดงจัด เมื่อใบกางตั้งขึ้นจะเอนไปด้านหลัง และม้วนงอเห็นได้ชัด การเรียงของใบประดับช่อดอกไม่ค่อยช้อนมาก และจะมีลักษณะนูนขึ้นที่โคนของใบประดับ เห็นเป็นสันชัดเจนเมื่อใบประดับหลุดออก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ผลมีก้านและมีขนาดเล็ก รูปร่างของผลมีหลายแบบแล้วแต่ชนิดย่อย (Subspecies) บางชนิดมีผลโค้งงอ บางชนิดไม่โค้งงอ ผลมีเนื้อน้อยสีขาว รสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา และแข็ง
กล้วยป่าที่พบในประเทศไทยมี 4 ชนิดย่อย (Subspecies) คือ
•  Musa acuminata Colla ssp. siamea Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. burmanisa Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. malaccensis (Ridl.) Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. microcarpa (Becc.) Simmonds
กล้วยเหล่านี้พบว่าขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าดิบ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย กล้วยชนิดนี้ นอกจากขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อแล้ว ยังใช้เมล็ดปลูกได้ ผลของกล้วยป่าเมื่อสุกกินได้ แต่ไม่นิยมเพราะมีเมล็ดมาก ผลอ่อนและหัวปลีรับประทานได้
กล้วยตานี ( Musa balbisiana Colla) ชื่ออื่น ๆ กล้วยงู ( พิจิตร ): กล้วยชะนีใน . กล้วยตานีใน . กล้วยป่า . กล้วยเมล็ด ( สุรินทร์ ): กล้วยพองลา ( ใต้ )
กล้วยตานี ลำต้นเทียมสูง 3.5-4 เมตร เว้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร สีเขียว ไม่มีปื้นดำ กาบลำต้นด้านในสีเขียว ก้านใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียวไม่มีร่อง ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ใบประดับรูปค่อนข้างป้อม มีความกว้างมาก ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับกางขึ้นตั้งฉากกับช่อดอกและไม่ม้วนงอ ใบประดับแต่ละใบซ้อนกันลึก เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10-14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่ มีเหลี่ยมเห็นชัดเจน ลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกแต่ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลเมื่อสุกผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดใหญ่สีดำ ผนังหนา แข็ง
กล้วยตานีที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิด แตกต่างที่ลำต้นเทียมและผล กล่าวคือกล้วยตานีพบทางภาคเหนือนั้น ลำต้นเทียมเกลี้ยงไม่มีปื้นดำเลย ผลจะสั้น ป้อม ส่วนตานีอีสานจะมีลำต้นเทียมที่มีประดำเล็กน้อย ผลคล้ายกล้วยน้ำว้า แต่ตานีทางภาคใต้ ลำต้นเทียมค่อนข้างจะมีปื้นดำหนา ผลคล้ายตานีเหนือแต่นาวกว่า และมีสีเขียวเป็นเงา นอกจากนี้ยังได้มีการนำตานีดำมาจากฟิลิปปินส์ แต่ตานีดำนี้เป็นพันธุ์พื้นเมืองของอินโดนีเซีย ลำต้นเทียมสีม่วงดำและเส้นกลางใบสีม่วงดำสี
เข้มมากจนดูเหมือนสีดำ ผลสีเขียวเข้มเป็นมันมีลักษณะคล้ายตานีใต้ มีเมล็ดมาก
 
กล้วยหก ( Musa itinerans Cheeseman) , กล้วยแดง ชื่ออื่น ๆ กล้วยอ่างขาง
กล้วยหกเป็นกล้วยป่าอีกชนิดหนึ่งใน section Eumusa ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลืองมีประดำเล็กน้อย ด้านในสีเหลืองอ่อน ก้านในสีเขียวอมเหลืองและมีประเล็กน้อยมีปีก เส้นกลางใบสีเขียวก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ ปลายมน ด้านบนสีเหลืองอมม่วงเข้ม ไม่มีนวล ด้านล่างสีครีม แต่ละใบเรียงซ้อนกันลึกและมีสันตื้นเมื่อใบประกอบหลุด เครือหนึ่งมี 5-7 หวี หวีหนึ่งมี 9-13 ผล ผลป้อม ปลายทู่ โคนเรียว ก้านผลยาวเกือบเท่าความยาวของผล เนื้อสีเหลืองและมีเมล็ด
กล้วยหกมีผลสีเขียวผลเล็ก ส่วนกล้วยแดงมีผลใหญ่กว่านิดหน่อยและเปลือกสีแดงพบมากในทางภาคเหนือ เช่น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก และที่ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ปลีรับประทานได้
 
สำหรับกล้วยกินได้ มีดังนี้
กล้วยไข่ ‘Kluai Khai' ชื่ออื่น ๆ กล้วยกระ ชื่อสามัญ Pisang Mas
กล้วยไข่มีลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายค่อนข้างแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างที่โคนกลีบสีซีด กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกันแต่เกสรตัวเมียสูงกว่าเล็กน้อย เกสรตัวเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรตัวผู้มีสีชมพู เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ก้านผลสั้นเปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีมอมส้ม รสหวาน
กล้วยไข่ปลูกกันมากเป็นการค้าที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ เพชรบุรี และปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้านในทุกภาคของประเทศไทย เพราะเป็นกล้วยที่รสชาติดี และใช้ในเทศกาลสารทไทย ผลรับประทานสด และเป็นเครื่องเคียงของข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท นอกจากนี้ยังใช้ทำกล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด และกล้วยบวชชี ปัจจุบันกล้วยไข่เป็นสินค้าออกที่ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่นและฮ่องกง

กล้วยไข่ทองร่วง ‘Kluai Khai Thoung Roung']
มีความสูงไม่เกิน 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำปานกลาง พื้นด้านในมีสีแดงเรื่อ ๆ ปน ก้านใบเปิด มีสีแดงปนค่อนข้างชัดเจน
พู่ ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม ใบประดับม้วนขึ้น ด้านนอกสีม่วงแดง มีนวลปานกลาง ด้านในซีดเล็กน้อย กลีบรวมเดี่ยวใสและมีรอยย่น ส่วนกลีบรวมใหญ่สีครีม ปลายสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับกล้วยไข่ เมื่อสุกมีผิวสีเหลือง ก้านช่อดอกมีขน เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมีมากกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล น้ำหนักผลหนักประมาณ 87 กรัม มีรสหวาน เมื่อสุกเต็มที่ผลมักร่วง
 
กล้วยเล็บมือนาง ‘Kluai Leb Mu Nang' ชื่ออื่น ๆ กล้วยข้าว . กล้วยเล็บมือ ( สุราษฎร์ธานี ): กล้วยทองดอกหมาก ( พัทลุง ) กล้วยหมาก ( นครศรีธรรมราช )
กล้วยเล็บมือนางมีลำต้นสูงเทียมไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านในสีชมพูอมแดง ใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาว ม้วนงอขึ้นปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด ดอกตัวผู้หลุดร่วงไปหลังจากใบประดับร่วง ดอกตัวผู้มีสีครีม ดอกตัวเมียสีชมพูอ่อน ปลายสีเหลือง ก้านเกสรตัวเมียตรง เกสรตัวผู้มีความยาวกว่าเกสรตัวเมีย กลีบรวมใหญ่มีสีเหลืองอ่อน ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ปลายหยัก เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร รูปโค้งงอปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอม เนื้อในสีเหลือง รสหวาน
กล้วยเล็บมือนางนิยมปลูกในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร ปัจจุบันปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้าน เพราะเป็นกล้วยที่มีรสชาติดีชนิดหนึ่ง
กล้วยหอมจันทร์ ‘Kluai Homchan'
กล้วยหอมจันทร์มีลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาวม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครื่องหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 9-11 เซนติเมตร รูปคล้ายกล้วยเล็บมือนาง แต่ปลายผลไม่เรียวแหลม มีจุกสั้นเมื่อเทียบกับขนาดของผล ก้านผลสั้น เปลือกหนากว่ากล้วยเล็บมือนาง เมื่อสุกมีสีเหลืองคล้ายกัน กลิ่นหอมเย็น เนื้อสีเหลือง รสหวาน
กล้วยหอมจันทร์ปลูกทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่ปลูกในสวนหลังบ้าน และปลูกเป็นการค้าทางภาคใต้
 
กล้วยไล ‘Kluai Lai'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นมีประดำปานกลาง มีไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพูปน ก้านใบเปิดกว้างมีปีกเล็กน้อยและมีสีเขียว ปนชมพู เส้นก้านใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขน เครืออกชี้ทางด้านข้าง ส่วนปลีห้อยลง ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม มีสีม่วงเข้ม ไม่มีไข ปลายม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลขนาดเล็ก ผลเมื่อสุกมีสีส้มอมเหลือง รสหวาน
 
กล้วยสา ‘Kluai Sa'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีจุดดำประน้ำตาลเข้มมากและมีนวลปานกลาง ด้านในสีออกชมพู ก้านใบมีนวลมากมีสีม่วงแดงเข้ม ทั้งด้านล่างและขอบใบ ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับมีรูปไข่ รูปร่างยาวปลายแหลม เครือห้อยลง เครือหนึ่งมีมากกว่า 8 หวี หวีหนึ่งมี 18-22 ผล ผลมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ผลหนึ่งหนัก 80-90 กรัม
 
กล้วยทองขี้แมง ‘Thong Khi Meew'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.0 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีจุดประสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก และมีนวลมาก ด้านในสีออกชมพู ก้านใบมีสีเขียวมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขน ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้น ใบประดับมีสีแดงเทาไม่มีไข กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ดอกตัวผู้และตัวเมียมี ใบประดับมีรูปร่างเรียวยาว ปลายแหลม ด้านในสีซีด ดอกตัวเมียมีความสูงมากกว่าดอกตัวผู้ เครือกล้วยชี้ไปทางด้านข้างรวมทั้งปลี เครือหนึ่งมี 7 หวี หวี หนึ่งมี 10-16 ผล ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีเมล็ด
 
กล้วยทองกาบดำ ‘Kluai Thong Kab Dam'
ลำต้นเทียมมีความสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 15 เซนติเมตร มีประดำปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู ก้านใบมีปีกและมีสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขนเล็กน้อย เครือออกทางด้านข้างขนานกับพื้นดินรวมทั้งปลีด้วย ก้านเครือมีขน ปลีมีรูปไข่ยาว ปลายแหลม มีไขปานกลาง สีม่วงเข้ม ปลีม้วนขึ้น เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมีผลไม่เกิน 16 ผล ผลสุกสีเหลืองอมส้ม ผลมีขนาดไม่ใหญ่
 
กล้วยน้ำไท ‘Klaui Nam Thai'
กล้วยน้ำไทมีลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำหนา ที่โคนมีสีชมพูอมแดง ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีกสีชมพู เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาวม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดง ด้านล่างสีซีด เครือหนึ่งมีประมาณ 5 หวี หวีหนึ่งมี 12-18 ผล ผลคล้ายกล้วยหอมจันทร์ ขนาดใกล้เคียงกัน กว้าง 2 –2.05 เซนติเมตร ยาว 10-11 เซนติเมตร ผลไม่งอโค้งเท่ากล้วยหอมจันทร์ มีหัวจุกใหญ่แต่เล็กกว่าหอมจันทร์ ที่ปลายจุกมักมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ เปลือกหนากว่าหอมจันทร์ มีกลิ่นหอมเย็น เมื่อสุกสีเหลืองเข้มกว่ากล้วยหอมจันทร์และมีจุดดำเล็ก ๆ คล้ายจุดของกล้วยไข่ กลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน

กล้วยน้ำนม ‘Klaui Nam Nom'
ลำต้นเทียมมีความสูงน้อยกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านในสีเขียว มีไขมาก ก้านใบมีปีกเป็นสีชมพูเล็กน้อย เส้นกลางใบสีเขียว เครือออกขนานกับพื้นดินส่วนปลีห้อยลง ก้านเครือมีขน ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว สีแดงอ่อน ปลายแหลม มีไขปานกลาง ใบประดับม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี ประมาณ 10 ผล
 
กล้วยหอมสั้น ‘Kluai Hom Son'
ลำต้นเทียมมีความสูงน้อยกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นมีประดำและไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู ก้านใบมีปีกเป็นสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว เครือออกทางด้านข้างขนานกับดินรวมทั้งปลีด้วย ก้านช่อดอกมีขนเล็กน้อย ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม สีม่วงเข้ม ปลายม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้าแต่รูปร่างเหมือนกล้วยไข่ รสหวาน

กล้วยเชื่อม

สูตรขนม - กล้วยเชื่อม

วิธีทำอาหาร
  • 1
  • ควรใช้กล้วยแบบห่ามๆ อย่าสุกมากไป อย่าดิบมากไป เอาแบบเปลือกเขียวๆ เหลืองๆ เพื่อที่เวลาเชื่อมจะได้ไม่เละ
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม
  • 2
  • ปอกเปลือกกล้วย หั่นเป็นชิ้นๆ แล้วแต่ชอบ แช่ลงในน้ำปูนใส ประมาณ 1 ชม.
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม
  • 3
  • พอแช่กล้วยได้แล้ว ก็นำมาล้างผ่านน้ำหลายๆรอบ ให้หมดกลิ่นปูน
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม
  • 4
  • เทน้ำ และน้ำตาลลงในหม้อ คนให้น้ำตาลละลายไม่ถึงกับหมดก็ได้
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม
  • 5
  • นำกล้วยที่ล้างไว้แล้ว มาใส่ลงในหม้อน้ำตาล
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม
  • 6
  • นำหม้อขึ้นตั้งเตาเลย เปิดไฟแรง จนหม้อเดือด แล้วค่อยลดไฟลงอ่อนๆ
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม
  • 7
  • เคี่ยวไปเรื่อยๆ ผ่านไป 40 นาที สีเริ่มเปลี่ยนแล้ว (ใช้ไฟอ่อนๆ ถ้าไฟแรงมาก น้ำตาลมีหวังไหม้)
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม
  • 8
  • เคี่ยวไปเรื่อยๆ หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไป น้ำเริ่มแห้ง ให้เติมน้ำได้ เติมทีละน้อย พยายามอย่าคนมากไปนะ นานๆคนที เด๋วน้ำตาลจับกันเป็นก้อนๆ
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม
  • 9
  • เคี่ยวไปเรื่อยๆ สองชั่วโมงเป๊ะๆ สีสันถูกใจแล้ว กล้วยเชื่อมได้ที่พอดี เสร็จเรียบร้อย
  • วิธีทำอาหาร - กล้วยเชื่อม


Click a Star to Rate This Recipe
  • Currently 3.85/5
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
Rating: 3.8/5 (13 votes)
Description

เมนูกล้วยๆ สำหรับคนชอบกล้วย เป็นกล้วยน้ำหว้าเชื่อม เหนียวหนึบหนับ ไม่เละ

 ส่วนผสมอาหาร


กล้วยน้ำหว้า
12
ผล
น้ำตาลทรายแดง หรือ ขาว
400
กรัม
น้ำเปล่า
700
มล.
เกลือ
1
ช้อนชา

การทำกล้วยบวดชี

การทำกล้วยบวดชี
...................ผู้จัดทำ
ส่วนผสม
หัวกะทิ                 1  ถ้วยตวง
กะทิ                      6  ถ้วยตวง
กล้วยน้ำว้า            1  หวี่
น้ำตาลทรายขาว    1  ถ้วยตวง
เกลือ                     1  ช้อนชาครึ่ง

วิธีทำ
1.  ปอกกล้วยให้หมดเส้นใย ถ้าเป็นกล้วยไข่ให้ตัด 2 ท่อน ถ้าเป็นกล้วยน้ำว้าให้ผ่า 2 ซีก แล้วตัด 2 ท่อน
2.  หัวกะทิตั้งไฟให้เดือด
3.  หางกะทิใส่น้ำตาล เกลือ ตั้งไฟ และต้องคอยคนอยู่เสมอ พอเดือดใส่กล้วย ต้มพอสุก ยกลง เวลาตักใช้หัวกะทิราด

การทำกล้วยไม้








มาปลูกกล้วยไม้เพื่อธุรกิการเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้นนอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน


จกันเถอะ
อุตสาหกรรมกล้วยไม้ของประเทศได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก และทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอับดับหนึ่งในจำนวนไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมดที่มีการส่งออก ซึ่งการส่งออกดอกกล้วยไม้ และต้นกล้วยไม้มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยตลอด ในปี 2535 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์รายงานปริมาณการส่งดอกกล้วยไม้ 11,142 ตัน เป็นมูลค่า 701.3 ล้านบาท และส่งออกต้นกล้วยไม้ปริมาณ 939 ตัน มูลค่า 86.5 ล้านบาท
สำหรับพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2530-31 จนถึงปัจจุบันค่อนข้างคงที่โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 12,000 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครปฐม, สมุทรสาคร, ราชบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะกับการเจริญเติบโตของกล้ว ยไม้ ใกล้แหล่งน้ำ ตลาด และมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก และปัจจุบันพื้นที่ปลูกกล้วยไม้มีแนวโน้มที่จะย้ายจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดใกล้เคียงมากขึ้น เนื่องจาก ที่ดินมีราคาสูงและมีปัญหามลภาวะของน้ำและอากาศ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของกล้วยไม้ วิธีการปลูวิธีการปลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ

ภาชนะปลูก

ภาชนะที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้ ดังนั้นจึงควรจัดภาชนะปลูกให้เหมาะกับการเจริญของรากกล้วยไม้แต่ละประเภท ภาชนะสำหรับปลูกกล้วยไม้มีหลายชนิด ดังนี้
กระถางดินเผาทรงเตี้ย

กระถางดินเผาทรงเตี้ย

เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 2-4 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถาง เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ มะพร้าวสับ วางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระถาง
กระถางดินเผาทรงสูง

กระถางดินเผาทรงสูง

เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 3-4 นิ้ว สูง 4-5 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถางแต่รูน้อยกว่ากระถางทรงเตี้ย เหมาะกับกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูกหรือกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น คัทลียา หวาย โดยปลูกด้วยกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่น ยึดรากและโคนกล้วยไม้ตรงกลางกระถางให้แน่น
กระเช้าไม้สัก

กระเช้าไม้สัก

ทำจากไม้สักหรือไม้ชนิดอื่น นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดตั้งแต่ขนาด 4x4 นิ้ว ถึง 10x10 นิ้ว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ มีต้นใหญ่ รากใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกด้วยกระเช้าไม้สักภายในไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ 2-3 ก้อนวางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระเช้า
กระเช้าพลาสติก

กระเช้าพลาสติก

เป็นกระเช้าที่ทำจากพลาสติกสีดำ ราคาถูก มีหลายแบบ หลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มี 2 ขนาด คือ ขนาดทรงเตี้ยใช้ปลูกกล้วยไม้แวนด้า และ ขนาดทรงสูงใช้ปลูกกล้วยไม้หวาย ลักษณะการปลูกเช่นเดียวกับกระถางดินเผาทรงเตี้ยและกระถางดินเผาทรงสูง
กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง

กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง

เป็นกระถางดินเผาชนิดเดียวกับที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป มีรูระบายน้ำอยู่ที่ก้นกระถางเพียงรูเดียว ทั้งแบบทรงสูงทั่วไปและแบบทรงเตี้ย มีขนาดตั้งแต่ 4-10 นิ้ว นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งดิน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว สกุลคูลู และสกุลสเปโธกล๊อตติส
ท่อนไม้ที่มีเปลือก

ท่อนไม้ที่มีเปลือก

โดยผูกกล้วยไม้ติดกับท่อนไม้ที่มีเปลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายหนึ่งของท่อนไม้ยึดติดกับลวดไว้สำหรับแขวนกับราว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลแวนด้า
ต้นไม้ใหญ่

ต้นไม้ใหญ่

โดยการปลูกยึดติดกับต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศและรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลหวาย สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากอากาศสามารถใช้ลวดหรือเชือกผูกติดกับต้นไม้ได้เลย แต่สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากกิ่งอากาศให้หุ้มด้วยกาบมะพร้าวทับอีกชั้นหนึ่ง ยึดกาบมะพร้าวด้วยตาข่ายหรือซาแลนอีกชั้นหนึ่ง

เครื่องปลูก

วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหาร เก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้รากของกล้วยไม้เกาะ ลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง เครื่องปลูกที่นิยมใช้มีดังนี้

ออสมันด้า

เป็นเครื่องปลูกที่ได้มาจากรากของเฟิร์น ลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลจนเกือบดำ ค่อนข้างแข็ง ก่อนที่จะใช้ต้องล้างให้สะอาด แล้วจึงอัดตามยาวลงไปในกระถาง ก่อนที่จะอัดลงในกระถางควรรองก้นกระถางด้วยกระเบื้องแตกหรือถ่านประมาณครึ่งหนึ่งของกระถาง เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวกไม่ควรอัดออสมันด้าให้เต็มกระถาง ก่อนใช้ควรแช่น้ำหรือต้มเพื่อฆ่าเชื้อราเสียก่อน ออสมันด้าเป็นเครื่องปลูกที่ดี แต่ราคาค่อนข้างสูง สามารถเลี้ยงกล้วยไม้ได้เจริญงอกงามสม่ำเสมอ มีอายุการใช้งาน 2–3 ปี แต่มีข้อเสีย คือ มีตะไคร่น้ำขึ้นหน้าเครื่องปลูก และเกิดเชื้อราง่าย ออสมันด้าใช้ปลูกกล้วยไม้แบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา

กาบมะพร้าว

เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้มาก เพราะหาง่าย ราคาถูก เหมาะที่จะใช้อัดลงในกระถางดินเผาสำหรับใช้ปลูกกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา วิธีทำคือใช้กาบมะพร้าวแห้งที่แก่จัดและมีเปลือก อัดตามยาวให้แน่นลงในกระถาง ตัดหน้าให้เรียบ แล้วใช้แปรงลวดปัดหน้าให้เป็นขน เพื่อให้ดูดซับน้ำดีขึ้น เครื่องปลูกกาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกที่ได้ความชื้นสูง เหมาะสำหรับกล้วยไม้ปลูกใหม่ เพราะจะทำให้ตั้งตัวเร็ว จึงทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามเร็วกว่าปลูกด้วยเครื่องปลูกชนิดอื่นๆ แต่มีข้อเสียคือมีอายุการใช้งานได้ไม่นาน คือมีอายุใช้งานได้เพียงปีเดียวเครื่องปลูกก็ผุ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย เนื่องจากกาบมะพร้าวอมความชื้นไว้ได้มาก จึงควรรดน้ำให้น้อยกว่าเครื่องปลูกชนิดอื่น

ถ่าน

ถ่านไม้จัดเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่ายและดูดอมน้ำได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ยังช่วยดูดกลิ่นที่เน่าเสียและทำให้อากาศบริสุทธิ์อีกด้วย แต่มีข้อเสียคือมักจะมีเชื้อราอยู่ ในการใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา ควรใช้ถ่านป่นซึ่งเป็นก้อนเล็กๆ ผสมกับอิฐ หรือใช้อิฐหักรองก้นกระถางประมาณครึ่งกระถาง แล้วใช้ถ่านป่นใส่ทับข้างบนจนเต็มหรือเกือบเต็มกระถาง จากนั้นจึงเอากล้วยไม้ปลูกโดยวางทับไว้บนถ่านอีกชั้นหนึ่ง สำหรับถ่านที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ ถ้าเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กหรือยังเป็นลูกกล้วยไม้อยู่ เช่น มีขนาดสูงไม่เกิน 3 นิ้ว ควรใส่ถ่านก้อนเล็กๆ หรือใส่ถ่านป่นไว้บ้างพอสมควร แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดโดแล้วควรใส่ก้อนใหญ่ๆ ไว้ประมาณ 5-10 ก้อน เพื่อช่วยอุ้มความชุ่มชื้นไว้ให้กล้วยไม้ การที่ใส่ถ่านก้อนโตๆ จำนวนเล็กน้อยในการปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศก็เพื่อต้องการให้บริเวณภายในกระถางมีช่องว่างมากๆ และโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเหมาะแก่ความต้องการหรือความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศ

ทรายหยาบและหินเกล็ด

การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศโดยเฉพาะพวกสกุลหวาย มักใช้ทรายหยาบและหินเกล็ดที่ล้างสะอาดแล้วเป็นเครื่องปลูก โดยก้นกระถางใส่อิฐหักหรือหรือถ่านป่นไว้ ส่วนด้านบนใช้ทรายหยาบโรยหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยทับด้วยหินเกล็ดหนาประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นจึงนำหน่อกล้วยไม้ที่แยกจากกอเดิมไปปลูกวางไว้บนหินเกล็ด แล้วมัดติดกับหลักเพื่อยึดไม่ให้ล้มจนกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกใหม่นี้มีรากยึดเครื่องปลูกและตั้งตัวได้

อิฐหักและกระถางดินเผาแตก

อิฐหัก อิฐดินเผา และกระถางดินเผาแตก ใช้เป็นเครื่องปลูกรองก้นกระถางสำหรับปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ โดยมีออสมันด้า กาบมะพร้าว ถ่านป่น อย่างใดอย่างหนึ่งอัดหรือโรยไว้ข้างบน เพื่อให้ด้านล่างของกระถางหรือภาชนะปลูกโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวกและเป็นการช่วยในการระบายน้ำในกระถางได้ดีขึ้น

วิธีการปลูก

การล้างลูกกล้วยไม้

คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะแล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว

การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก

ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้ว สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น

การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่

ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน

การปลูกลงในกระเช้า

เมื่อลูกกล้วยไม้ในกระถางนิ้วมีรากเจริญแข็งแรงดี มีใบยาวประมาณข้างละ 2 นิ้ว ซึ่งจะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 6-7 เดือน ก็นำไปลงปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 3-5 นิ้ว ด้วยการนำกระถางนิ้วไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้แกะออกจากกระถางได้ง่าย ใช้นิ้วดันที่รูก้นกระถาง ทั้งต้นและออสมันด้าจะหลุดออกมา มือข้างหนึ่งจับออสมันด้าและลูกกล้วยไม้วางลงตรงกลางกระเช้าที่เตรียมไว้ มืออีกข้างหนึ่งหยิบก้อนถ่านไม้ขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในช่องระหว่างออสมันด้ากับผนังของกระเช้าให้พยุงลำต้นได้ นำไปแขวนไว้ในเรือนกล้วยไม้

การย้ายภาชนะปลูก

เมื่อลูกกล้วยไม้มีใบยาว 4-5 นิ้ว ควรจะย้ายไปปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 8-10 นิ้ว โดยสวมกระเช้าเดิมลงไปในกระเช้าใหม่เพื่อมิให้รากกระทบกระเทือน ใช้ก้อนถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ วางเกยกันโปร่งๆ หรือจะไม่ใช้เลยก็ได้ เนื่องจากกล้วยไม้ไม่ต้องการเครื่องปลูกที่แน่นและชื้นแฉะเป็นเวลานานๆ ถ้าไม่ต้องการสวมกระเช้าเดิมลงไปก็นำกระเช้าเดิมไปแช่น้ำก่อน เพื่อให้แกะรากที่จับติดกระเช้าออกได้ง่าย นำต้นที่แกะออกแล้ววางตรงกลางกระเช้า ให้ยอดตั้งตรง มัดรากบางรากให้ติดกับซี่พื้นด้านข้างของกระเช้า

การตกแต่งกล้วยไม้ต้นใหญ่ก่อนปลูก

สำหรับกล้วยไม้ลำต้นใหญ่ที่ได้มาจากที่อื่นหรือจากการแยกหน่อ จะต้องตัดรากและใบที่เน่าหรือเป็นแผลใหญ่ๆ ทิ้งเสียก่อน รากบางส่วนที่ยังดีแต่ยาวเกินไป อาจตัดให้สั้นจนเกือบถึงโคนต้น แล้วทาแผลที่ตัดทุกแผลด้วยปูนแดงหรือยาป้องกันโรค เช่น ออร์โธไซด์ 50 ผสมน้ำให้เละมากๆ นำต้นกล้วยไม้ลงปลูกในกระเช้าไม้ซึ่งมีขนาดเหมาะสมกับลำต้น
นอกจากนั้นยังอาจนำกล้วยไม้ต้นใหญ่ไปผูกติดกับท่อนไม้หรือกระเช้าสีดา ให้บริเวณโคนต้นติดอยู่กับภาชนะปลูก ส่วนยอดอาจตั้งตรงทาบขึ้นไปหรือลำต้นโน้มไปข้างหน้าและส่วนยอดเงยขึ้น มัดลำต้นตรงบริเวณเหนือโคนต้นขึ้นไปเล็กน้อยให้ติดกับภาชนะปลูกด้วยเชือกฟางหรือลวด 1-2 จุดและมัดรากใหญ่ๆ ให้ติดกับภาชนะปลูกอีก 1-2 จุด เพื่อให้ติดแน่น อาจใช้กาบมะพร้าวกาบอ่อนชุบน้ำให้ชุ่ม มัดหุ้มบางๆ รอบโคนต้นกล้วยไม้เหนือบริเวณที่เกิดรากเล็กน้อยกับท่อนไม้ก็ได้ และนำท่อนไม้หรือกระเช้าสีดาไปแขวนบ